^_^ Neeranuch ^_^ Calendar

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติจังหวัดขอนแก่น

         จากหลักฐานการสำรวจบริเวณบ้านโนนนกทา บ้านนาดี ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง ของ วิลเฮล์ม จิโซลไฮม์ เรื่อง เออร์ลี่บรอนซ์ อิน นอร์ธอิสเทริน์ ไทยแลนด์ ได้ค้นพบเครื่องสำริดและเหล็กมีเครื่องมือเครื่องใช้เป็นขวาน รวมทั้งแบบแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อ มีกำไลแขนสำริดคล้องอยู่ที่โครงกระดูกท่อนแขน ซ้อนกันหลาย วง พบกำไรทำด้วยเปลือกหอย รวมทั้งพบแหวนเหล็กไน แสดงว่ามีการปั่นด้ายทอผ้าใช้ในยุคนั้นแล้ว นอกจากนี้ ยังพบขวานทองแดง อายุ 4,600-4,800 ปี เป็นหัวขวานหัวเดียวที่พบในประเทศไทย ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ในชั้นดินที่ 20 การกำหนดอายุโดยคาร์บอนด์ 14 จากชั้นดินที่ 19 ปรากฏว่าอายุ 4,275 ปี จากหลักฐานข้างต้นพิสูจน์ให้เห็นว่าอาณาเขตบริเวณจังหวัดขอนแก่น เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรม วัฒนธรรมอันสูงสุดมาแต่ดึกดำบรรพ์ มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนสมัยพุทธกาลหลายพันปี

พระธาตุขามแก่น

พระธาตุขามแก่น
อำเภอน้ำพอง  จังหวัดขอนแก่น
  พระธาตุขามแก่น
- มีงานบวงสรวงองค์พระธาตุฯ วันที่ 13 เม.ย.
เป็นพระธาตุสำคัญองค์หนึ่งของอีสาน มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจและเป็นที่มาของชื่อเมืองขอนแก่น
สิ่งน่าสนใจ
  
    
นอกจากเป็นปูชนียสถานคู่เมืองขอนแก่นมาแต่โบราณแล้ว องค์พระธาตุขามแก่นยังเป็นเจดีย์ที่มีรูปทรงงดงาม สูงประมาณ 10 ม. มีฐานเป็นรูปบัวคว่ำ ผังสี่เหลี่ยมสอบขึ้นด้านบน ปลายยอดเป็นฉัตรทอง องค์เรือนธาตุซึ่งเป็นรูปดอกบัวตูม ย่อมุมไม้สิบสองด้านทิศตะวันออกติดกับองค์พระธาตุ มีสิมหรือโบสถ์เก่าซึ่งสร้างคู่กับพระธาตุมาแต่โบราณ เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างรูปทรงสวยงาม ลายฉลุไม้ที่หน้าบัน ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และลายรวงผึ้งที่บริเวณซุ้มด้านหน้า ฝีมือประณีตงดงาม ฝาผนังบริเวณ ประตูสิมมีภาพวาดฝีมือชาวบ้านรูปตำรวจถือปืนยาวเป็นทวารบาล

ที่มา http://www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/khonkaen/data/place/pic_prathat-khamkaen.htm

อุทยานแห่งชาติภูเวียง

          อุทยานแห่งชาติภูเวียง มีลักษณะโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาล้อมเป็นวงอยู่ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นแอ่งขนาดใหญ่ คล้ายแอ่งกระทะซึ่งเป็นที่ราบและลอนลาด ส่วนพื้นที่โดยรอบแอ่งมีลักษณะเป็นเทือกเขาซึ่งมีมุมเทเข้าหาใจกลางแอ่ง ประกอบด้วยเทือกเขาที่มีความลาดชันปานกลางถึงลาดชันสูง เทือกเขาชั้นนอกสุดมียอดเขาสูงสุด 844 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่ และเทือกเขาชั้นในมียอดเขาสูงสุด 470 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทิศเหนือของพื้นที่เทือกเขาชั้นในนี่เองที่เป็นแหล่งฟอสซิลไดโนเสาร์ ส่วนระดับต่ำสุดของเชิงเขาอยู่ระดับ 210 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
อุทยานแห่งชาติภูเวียงตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราชมีลักษณะเป็นหินชั้น ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนบนแผ่นดินหนากว่า 4,000 เมตร ชั้นของหินตะกอนมักมีสีแดงเกือบทั้งหมดเรียกว่าหินชั้นตะกอนแดง หรือกลุ่มหินโคราช ประกอบด้วย หน่วยหินเขาพระวิหาร หินเสาขัว หินภูพาน และหินโคกกรวด หินดังกล่าวถูกปกคลุมด้วยตะกอนร่วนและดินยุคควอเทอร์นารี่ และยุคปัจจุบัน ซึ่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงนั้นยังมีการสำรวจสายแร่ยูเรเนียมในพื้นที่อีกด้วย อุทยานแห่งชาติภูเวียงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของห้วยทรายขาวซึ่งจะไหลลงลำน้ำพอง ห้วยบั้งทิ้ง ห้วยน้ำไหล ซึ่งจะไหลลงลำน้ำเชิญ ห้วยเรือ ห้วยขุมปูน ห้วยน้ำบอง และห้วยมะนาว ซึ่งจะไหลลงห้วยบอง ทั้งลำน้ำพอง หัวยบอง และลำน้ำเชิญ จะไหลลงอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
ซากไดโนเสาร์ แหล่งซากไดโนเสาร์ที่สามารเยี่ยมชมได้ มี 4 หลุมขุดค้น ได้แก่
หลุมขุดค้นที่ 1 ภูประตูตีหมา แหล่งพบซากไดโนเสาร์ครั้งแรกของประเทศไทย ซากกระดูกที่พบมีขนาดใหญ่ จัดเป็นไดโนเสาร์กินพืชเป็นอาหาร (Sauropod) สกุลและชนิดใหม่ของโลก มีคอยาว หางยาว เดิน 4 ขา ความยาวประมาณ 15 เมตร สูง 3 เมตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phuwiangosaurus sirindhornae บริเวณซากกองกระดูกพบฟันของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวกคาร์โนซอร์จำนวนกว่า 10 ซึ่ สันนิษฐานว่า ไดโนเสาร์กินพืชนี้ถูกไดโนเสาร์กินเนื้อกินเป็นอาหาร ทำให้กระดูกบางส่วนกระจัดกระจายแล้วถูกทับถมโดยตะกอนซึ่งอาจจะมาจากน้ำหลากตามฤดูกาล
หลุมขุดค้นที่ 2 ถ้ำเจีย ขุดพบเมื่อปี 2536 เป็นกระดูกไดโนเสาร์กินพืชเรียงต่อกันจำนวน 6 ชิ้น
หลุมขุดค้นที่ 3 ห้วยประตูตีหมา ขุดค้นพบเมื่อปึ 2536 เป็นกระดูกของไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ฝังตัวอยู่ในหินทรายหมวดหินเสาขัว เป็นชนิดพันธุ์เดียวกันกับที่ขุดพบในหลุมที่ 1 และ 2
หลุมขุดค้นที่ 9 หินลาดยาว ขุดค้นพบเมื่อปึ 2536 เป็นกระดูกของไดโนเสาร์กินเนื้อ มีอายุประมาณยุคครีเทเชียสตอนต้น ลักษณะกระดูกบ่งบอกว่าเป็นบรรพบุรุษของ Tyranosaurus rex หรือ ทีเร็กซ์ มีความยาวประมาณ 6.5 เมตร จัดเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ของโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siamotyrannus isanensis หรือ ไทรันสยาม
การเดินทาง
จากจังหวัดขอนแก่น ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ขอนแก่น-ชุมแพ) ผ่านอำเภอบ้านฝาง อำเภอหนองเรือ ถึงทางแยกไปอำเภอภูเวียง ระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร จึงแยกตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2038 ไปประมาณ 38 กิโลเมตร จึงถึงอุทยานแห่งชาติภูเวียง
จากปากช่องภูเวียงซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภว.1 (ปากช่อง) ตั้งอยู่ริมน้ำพอง บริเวณนี้ยังมีศาลเวียงภูเวียงตั้งอยู่เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป และมีรถรับจ้างสามล้อเครื่องจากอำเภอภูเวียงถึงที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภว.1 (ปากช่อง) และเดินทางต่อไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2038 จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ




  ที่มา http://www.tlcthai.com/travel/500

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อุทยานแห่งชาติ ภูเก้า - ภูพานคำ

  
 
           อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ มีที่ทำการอุทยานฯ อยู่ที่ริมทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ เชิงเขาภูพานคำ เขตอำเภอโนนสัง มีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ 2 แห่งคือ ภูพานคำและภูเก้าครับ ภูพานคำ เป็นเทือกเขาทอดยาวจากเหนือสู่ใต้ จากอำเภอเมืองหนองบัวลำภู จนถึง เขื่อนอุบลรัตน์ เป็นเทือกเขาที่แบ่งเขตจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดขอนแก่น ภูพานคำเป็นทิวเขาด้านตะวันออก ของลุ่มน้ำพองและเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพานตอนบน มีทัศนียภาพที่สวยงามของทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ที่ภูพานคำนี้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและเป็นแหล่งตกปลาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดด้วยครับ ภูเก้า ประกอบด้วยภูเขา 9 ลูก คือ ภูฝาง ภูขุมปูน ภูหัน ภูเมย ภูค้อหม้อ ภูชั้น ภูเพราะ ภูลวก และภูวัด ภูทั้ง 9 ลุกนี้มี ความสลับซับซ้อนมาก มีป่าไม้และสัตว์ป่านานาชนิด มีถ้ำ น้ำตก ลานหินลาดมากมาย มีหินลักษณะแปลก ๆ คล้ายปราสาท ถ้ำพลาไฮมีภาพเขียนรูปฝ่ามือและภาพแกะสลักของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีศาลาบนยอดหินที่เรียกว่า หอสวรรค์ ไว้ชมวิว นอกจากนี้ยังมีวัดพระพุทธบาทภูเก้า ซึ่งมีรอยเท้าคนและสุนัขขนาดใหญ่สลักบนหินอันเกี่ยวโยงกับนิทานพื้น บ้านเรื่อง "พระสุพรหมวิโมขากับหมาเก้าหาง" ภายในวัดพระพุทธบาทภูเก้ายังมีถ้ำมึ้ม และถ้ำอาจารย์สิม ซึ่งภายในถ้ำมี ภาพเขียนสีและภาพสลักตามผนังถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ท่องเที่ยว gallery อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ